Newest Post

   
    crane game หรือเกมส์คีบตุ๊กตาที่หลายคนคงรู้จักกันดี ถึงแม้จะดูเหมือนเป็นเกมส์คีบธรรมดาแต่วิธีการเล่นนั้นมีหลากหลายมาก แค่การเล่นก็มีมากกว่า 5 แบบแล้ว แต่รู้มั้ยคะความจริงแล้วเกมส์นี้ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ดวง สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นคือ “เทคนิค” ค่ะ วันนี้จึงได้นำ 12 เทคนิคของ Dr.Nakajima ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเกมส์คีบมาให้ทุกคนได้ชมกัน ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือโปรก็นำไปเป็นแนวทางได้นะคะ

1. การสไลด์

กรณีอยากให้ไปทางขวา
กรณีอยากให้ไปทางขวา
ถ้าเกิดช่องอยู่ทางซ้ายหรือขวา เราจะไม่ให้ตัวคีบหนีบตรงกลางแต่จะเคลื่อนของไปทางฝั่งที่ต้องการ!
วีธีนี้ไม่ว่าขาคีบจะมีแรงเท่ากันทั้งสองข้างหรือไม่เท่ากันก็มีผลไม่ต่างกันค่ะ
กรณีอยากเคลื่อนไปทางขวา
กรณีอยากเคลื่อนไปทางขวา
ขาคีบที่ไม่มีแรงสำหรับเกมส์นี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติมากเพราะส่วนมากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อคีบ แต่การใช้วิธีสไลด์ก็ใช่ว่าจะได้ผลเสมอไปนะคะ
ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถใช้วิธีผลักตรงริมกล่องเพื่อให้เคลื่อนไปในทางที่ต้องการ
ในคลิปต่อไปนี้เป็นการใช้เทคนิคแบบสไลด์ ซึ่งของที่ใช้ครั้งนี้คือตุ๊กตาหมี Ted และในตอนท้ายคลิปมีการแนะนำตัวตุ๊กตาด้วยนะคะ ตัวหมี Ted นั้นเป็นลักษณะแบบนิ่มแต่ตรงส่วนเท้าและมือจะแข็งๆหน่อย สามารถตั้งยืนได้ ลองไปชมกันเลยค่ะ

2. Hole Hook


วิธีนี้จะใช้ตัวคีบหนีบเข้าไปในช่องด้านข้างกล่องค่ะ (ลูกศรสีแดง)
ถ้าเป็นไปได้ให้ตัวคีบหยุดที่ระดับความสูงตรงจุดนั้นนะคะ แต่ลักษณะแบบนี้เราไม่ค่อยเห็นกันบ่อยนัก ถึงมีก็ดูเหมือนจะเป็นของที่ไม่ได้ยกขึ้นมาได้ง่ายๆเลยทีเดียว
แต่เรามีอีกวิธีค่ะเค้าเรียกกันว่า “เทคนิคหมุนติ้ว” คือการให้ตัวคีบจิ้มลงในจุดลูกศรสีฟ้าเพื่อให้กล่องหมุนตกลงไปในช่องค่ะ

3. กวาดให้ตกแบบไนแองการ่า


สำหรับวิธีนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องแรงขาคีบเลย หลักการง่ายๆคือพยายามเล็งไปที่ของชิ้นเล็กที่รวมกันอยู่ใกล้ๆช่อง ซึ่งที่มาของชื่อนี้คือการกวาดตัวสินค้าลงราวกับน้ำตกไนแองการ่านั่นเอง!
วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายซึ่งอาจไม่ถึงกับเรียกว่าเทคนิคแต่ก็น่าจะใช้ได้ผลนะคะ ส่วนมากตัวสินค้าจะเป็นขนมหรือของเล่นชิ้นเล็กๆ

4. Tsubame Gaeshi 

กรณีต้องการหยิบโดยขยับไปด้านหน้าหรือด้านใน
กรณีต้องการหยิบโดยขยับไปด้านหน้าหรือด้านใน
วิธีนี้จะเล็งของที่อยู่ด้านหน้าหรือด้านในเพื่อให้เคลื่อนไปในด้านใดด้านหนึ่งค่ะ


บางคนอาจจะนึกภาพไม่ออก ลองไปดูตัวอย่างในคลิปกันดีกว่าค่ะ

5. Push Get


วิธีนี้ให้เล็งสินค้าที่ตัวสินค้ายื่นออกมาถึงปลายช่อง แล้วเพียงแค่ใช้ปลายตัวคีบผลักลงไปแค่นั้นเอง

6. เกี่ยวเชือก


ใช้การเกี่ยวที่เชือกของตัวสินค้า (ส่วนใหญ่เป็นตุ๊กตา) สมัยก่อนลักษณะแบบกล่องก็มีเชือกติดด้วยนะ (ในคลิปด้านล่าง) ส่วนหลักสำคัญของวิธีนี้คือ “องศาของตัวคีบ” ถ้าไม่แม่น ไม่มีทางได้ในครั้งเดียวนะคะ

ถึงแม้ว่าเราจะเกี่ยวเข้าได้ แต่ถ้าองศาไม่ได้ก็ยากที่สำเร็จเหมือนกันนะคะ

7. หยิบแนวนอน


กรณีที่เป็นตุ๊กตา จะใช้วิธีหยิบบริเวณหัวกับส่วนเป้า ทำให้ตัวคีบยึดได้ดี แต่วิธีนี้ไม่ค่อยมีใครเล่นกันนักเท่าไร
ตัวอย่างในภาพคือถ้าหนีบได้ตรงหน้าและเป้าหมีพูห์ก็จะเป็นวิธีนี้

8. Chabu Gaeshi (ちゃぶ台返し)


Chabudai Gaeshi (ちゃぶ台返し) เป็นวิธีที่เอามาจากชื่อตรงๆเลยค่ะ ซึ่งคำว่า “Chabudai” ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงโต๊ะกินข้าว “Gaeshi” แปลว่าพลิกหรือคว่ำ ซึ่งเป็นคำเปรียบเทียบในญี่ปุ่นเวลามีเรื่องไม่พอใจก็จะคว่ำโต๊ะกินข้าว ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นลักษณะตามนั้นเลยค่ะ โดยจะเล็งให้ตัวหนีบไปส่วนด้านในของสินค้าที่เป็นแนวยาวแล้วให้ตัวสินค้าพลิกตกลงช่อง เป็นอีกวิธีที่ใช้กรณีตัวสินค้าอยู่ใกล้กับช่อง ลองไปดูตัวอย่างในคลิปกันเลยค่ะ

9. Triangle



ใช้ขาหนีบทั้งสองข้างกับตัวหนีบยึดตัวสินค้าไว้ 3 จุดค่ะ

10. เกี่ยวป้ายแท็ก


เป็นวิธีที่เกี่ยวเอาส่วนที่เป็นป้ายแท็กของตัวสินค้า น้อยคนมากที่จะเลือกใช้วิธีนี้ แต่จะลองดูขำๆก็ได้นะคะ^^
บางทีอาจกำลังลองวิธีอื่นอยู่แล้วบังเอิญไปเกี่ยวได้ป้ายแท็กก็ได้!

11. เกี่ยวเข้าช่อง


ใช้ขาคีบเกี่ยวไปที่ล่องของตุ๊กตาหรือระหว่างกล่องแล้วลากลงไปในช่องค่ะ

12. Kesa Tori (袈裟獲り)

เป็นการคว้าตัวตุ๊กตา โดยที่มาของชื่อเค้าเปรียบให้เหมือนกับพระญี่ปุ่นเวลาสวมใส่เกสะ (คล้ายผ้าจีวร)
ยังไงก็ลองจำวิธีนี้ไปใช้ดูนะคะ ความจริงโอกาสที่จะได้ใช้วิธีนี้แทบไม่มีเลย แต่อาจจำไว้เป็นแนวทางก็ได้นะคะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ทั้ง 12 วิธีนี้มีใครเคยลองวิธีไหนกันมาบ้าง หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนที่ชื่นชอบการเล่นเกมส์คีบตุ๊กตานะคะ
ที่มา: cranegameAlluring Life

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

// Copyright © Elemental Toys //Anime-Note//Powered by Blogger // Designed by Johanes Djogan //